สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่

สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่
ข้อมูลพื้นฐานตำบล

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปัญหา / การแก้ไข / ฝ่ายเกี่ยวข้อง มัสยิดตำบลแม่เจดีย์ใหม่

ต้นตอปัญหา   สถานที่ก่อสร้างมัสยิด

    พื้นที่ก่อสร้างมัสยิด บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 6  ตำบลแม่เจดีย์ใหม่  เดิมเป็นพื้นที่ของนายทอง สุยะทากำนันตำบลเวียงกาหลง ( ปัจจุบัน กรกฎาคม 2555  เป็นผู้สมัคร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเวียงกาหลง ) เดิมที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่เขา ความลาดชันเกิน 35 องศา ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งป่าชุมชน หากินหาอยู่ในพื้นที่ ( ของป่า เห็ด ไม้ฟืน ) ต่อมา ปรากฎ ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จนท.บนอำเภอคนหนึ่ง (เสมียน อ.เวียงป่าเป้า) และขายต่อมาเป็นทอดๆ จนตกถึงมือนายทอง สุยะทา ก่อนหน้านั้นชาวบ้านไม่เคยทราบมาก่อน ว่าเป็นของใคร ผู้ใด มีเอกสารสิทธิ หรือ ไม่ จนนายทอง สุยะทา เข้ามาเปิด หน้าดินไปขาย เพื่อถมที่ ต่างๆมากมายหลายที่ พื้นที่เขา ดังกล่าว ถูกปรับให้ต่ำลงระดับหนึ่ง และ เป็นพื้นที่ไม่สูงมากนัก ณ ปัจจุบัน ส่วนการตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด ใครขายใครซื้อ ชาวบ้านยังไม่ทราบชื่อผูครอบครองกรรมสิทธิ์ ( สมควรเสาะหาหลักฐานการครอบครองได้ไม่ยากนัก แต่ไม่ใช่ประเด็นความขัดแย้ง และปัญหา ) 
              รูปภาพทางขึ้นสถานที่ก่อสร้างมัสยิด 



   
    ชาวบ้านในพื้นที่ เขียนป้าย ข้อความ ไม่ต้องการ / ติดยังทางขึ้นสถานที่ก่อสร้าง


    
  ชมรมน้อย-หนานฯ อาจารย์วัดบ้านเวียงป่าเป้า นำชาวบ้านฮือประท้วงต้านสร้างมัสยิดอิสลาม กลัวกระทบวิถีพุทธ และความมั่นคงในพื้นที่เหมือนเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่ทางอำเภอจนปัญญาแก้ นัดแกนนำชาวบ้าน-กรรมการอิสลามหาทางออกร่วมที่ศาลากลางจังหวัดสิ้นเดือนนี้ แต่เบื้องต้นเตรียมขอผู้รับเหมาชะลองานก่อน
     
       เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (24 เม.ย.) ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กลุ่มชาวบ้านจาก 14 หมู่บ้านของ ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า ประมาณ 1,000 คน นำโดยชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า และชมรมอาจารย์วัดเวียงป่าเป้า ได้ไปชุมนุมกันเพื่อขอความชัดเจนจากทางอำเภอ กรณีได้มีผู้เข้าไปก่อสร้างมัสยิดศาสนาอิสลาม บนที่ดินประมาณ 3 ไร่ ที่บ้านโป่งน้ำร้อน ม.6 ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า ติดถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านดังกล่าวกลัวว่าจะกระทบวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
       การชุมนุมดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่อำเภอ นำโดยนายเชิดชาย พิบูลย์วุฒิกุล นายอำเภอเวียงป่าเป้า นัดหมายกรรมการอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ในพื้นที่ไปประชุมกัน แต่ปรากฏว่ามีเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ไปประชุม พร้อมกับรวมตัวชุมนุมประท้วงกัน โดยชูป้ายแสดงความเห็นและเปิดให้ลงชื่อคัดค้าน ส่วนฝ่ายของกรรมการอิสลามไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       นายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า กล่าวว่า ชาวบ้านไม่อยากให้มีการก่อสร้างสถานที่ทางศาสนาอื่นในพื้นที่ แม้การก่อสร้างมัสยิดตามหลักศาสนาอิสลามนั้นยอมรับว่าตามกฎหมายระบุไม่ต้องมีการทำประชาคม แต่จากการสอบถามความเห็นของชาวบ้านในภาพรวมพวกเขาก็ไม่ต้องการจริงๆ เพราะเกรงจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
       ที่ผ่านมาเคยจัดประชุมหารือกับฝ่ายผู้จัดตั้งมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ก็ไม่ได้ข้อยุติ ทางฝ่ายมัสยิดยืนยันจะก่อสร้างเพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ชาวบ้านก็เกรงจะมีผลกระทบ เช่น ความมั่นคงเพราะเห็นจากเหตุการณ์ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไป วัฒนธรรมที่จะถูกกระทบ จึงขอให้มีการชะลอการก่อสร้างไปก่อน แต่ปรากฏว่าปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้ามาได้ราว 2 เดือนแล้ว มีการปรับที่และขึ้นโครงอาคารแล้ว ทำให้ชาวบ้านรวมตัวกันออกมาชุมนุมประท้วงครั้งนี้
       น.ส.เขมภัทร แสงมณี ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบ้านไม่ได้ต่อต้านศาสนาอื่นรวมทั้งศาสนาอิสลาม แต่อยากให้ย้ายไปสร้างที่อื่นได้หรือไม่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ติดกับวัดซึ่งชาวบ้านอาศัยอยู่กันตามวิถีชาวพุทธและเรียบง่าย จึงกลัวว่าจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมา นายเชิดชาย พิบูลย์วุฒิกุล นายอำเภอเวียงป่าเป้า ลงมาชี้แจงชาวบ้านที่ชุมนุมว่า ทางกรรมการอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างได้โทรศัพท์แจ้งเหตุผลของการไม่ร่วมประชุม เพราะมีการชุมนุมประท้วงกัน ส่วนตนก็ตัดสินเรื่องนี้ไม่ได้เพราะทางราชการต้องทำตามกฎหมาย ครั้นจะเจรจาสองฝ่ายก็มาไม่ครบกัน ดังนั้น วันที่ 30 เมษายน 55 จะมีการนัดประชุมเฉพาะแกนนำที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายชาวบ้านและกรรมการอิสลาม ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย โดยจะขอให้ทางจังหวัดเป็นเจ้าภาพ
          อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (25 เม.ย.) นายอำเภอเวียงป่าเป้าจะนำคณะพร้อมตำรวจไปยังบริเวณที่ก่อสร้างเพื่อขอให้ผู้รับเหมาได้ชะลอการก่อสร้างไปก่อนจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายตัวรอฟังข่าวต่อไป


รูปภาพแผนที่ก่อสร้าง / สถานที่ตั้ง




  
   เชียงราย - เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 24 เม.ย. ที่ห้องประชุมที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กลุ่มชาวบ้านจากพื้นที่ 14 หมู่บ้านของ ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า ประมาณ 1,000 คน นำโดยชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า และชมรมอาจารย์วัดเวียงป่าเป้า ได้ไปชุมนุมกันเพื่อขอความชัดเจนจากทางอำเภอ กรณีได้มีผู้เข้าไปก่อสร้างมัสยิดตามศาสนาอิสลามบนที่ดินประมาณ 3 ไร่ พื้นที่บ้านโป่งน้ำร้อน ม.6 ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า ติดถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านดังกล่าวกลัวว่าจะกระทบวิถีชีวิต วัฒนธรรม ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 
    โดยการชุมนุมดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ทางอำเภอนำโดย นายเชิดชาย พิบูลย์วุฒิกุล นายอำเภอเวียงป่าเป้า จัดให้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาโดยนัดหมายกรรมการอิสลามทีเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ในพื้นที่ไปประชุมกัน แต่ปรากฎว่ามีเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ไปประชุมรวมทั้งมีการชุมนุมของชาวบ้าน โดยมีป้ายแสดงความเห็นและเปิดให้ลงชื่อคัดค้าน ส่วนฝ่ายของกรรมการอิสลามไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด ภายหลังทราบว่ามีการชุมนุมของกลุ่มผู้คัดค้านจำนวนมาก เพราะเกรงจะกระทบกระทั่งกันขั้นรุนแรง

รูปภาพการชุมนุม ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า  24 เมษายน 2555









นายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า กล่าวว่า ชาวบ้านไม่อยากให้มีการก่อสร้างสถานที่ทางศาสนาอื่นในพื้นที่ เพราะการก่อสร้างมัสยิดตามหลักศาสนาอิสลามนั้น ยอมรับว่าตามกฎหมายระบุไม่ต้องมีการทำประชาคม แต่จากการสอบถามความเห็นของชาวบ้านในภาพรวมพวกเขาก็ไม่ต้องการจริงๆ เพราะเกรงจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาจึงเคยมีการประชุมหารือกับฝ่ายผู้จัดตั้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ก็ไม่ได้ข้อยุติ เพราะทางฝ่ายมัสยิดยืนยันจะก่อสร้าง เพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ชาวบ้านก็เกรงจะมีผลกระทบ เช่น ความมั่นคง เพราะเห็นจากเหตุการณ์ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไป วัฒนธรรมที่จะถูกกระทบ จึงขอให้มีการชะลอการก่อสร้างไปก่อน แต่ปรากฎว่าในปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้ามาได้ราว 2 เดือนแล้วโดยมีการปรับที่และขึ้นโครงอาคารแล้ว ทำให้ชาวบ้านออกมาชุมนุมดังกล่าว
      น.ส.เขมภัทร แสงมณี ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบ้านไม่ได้ต่อต้านศาสนาอื่นรวมทั้งศาสนาอิสลาม แต่อยากให้ย้ายสถานที่ไปก่อสร้างที่อื่นได้หรือไม่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ติดกับวัด ซึ่งชาวบ้านอาศัยอยู่กันตามวิถีชาวพุทธและเรียบง่าย จึงกลัวว่าจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่สุด
     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 30 เม.ย.จะมีการนัดประชุมเฉพาะแกนนำที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายชาวบ้านและกรรมการอิสลามที่เกี่ยวข้องที่ศาลากลาง จ.เชียงราย โดยจะขอให้ทางจังหวัดเป็นเจ้าภาพ กระนั้น ในวันที่ 25 เม.ย.ก็จะนำคณะพร้อมตำรวจไปยังบริเวณสถานที่ก่อสร้าง เพื่อขอให้ผู้รับเหมาก่อสร้างได้ชะลอการก่อสร้างไปก่อนจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายตัวไปรอฟังข่าวต่อไป.
ที่มา:ฟาตอนีออนไลน์
http://www.muslim2world.com/index.php?topic=1035




รูปภาพ ป้ายประท้วง ต่อต้าน บริเวณทางขึ้น- เข้า มัสยิด





   รูปภาพ ประชุมแกนนำ / นายอำเภอ เวียงป่าเป้า

รูป  ( จากซ้าย เสื้อลาย กำนันเอี่ยม แรงสิงห์  กำนันตำบลแม่เจดีย์ใหม่  / นายจรัส ทำสะอาด  ผญบ.หมู่ 6 /
 นายเชิดชาย  พิบูลย์วุฒิกุล นายอำเภอเวียงป่าเป้า  / นายเสริม  ฤดีใจ   นายก อบต.แม่เจดีย์ใหม่ )
  


 รูปภาพ การสานเสวนาสถานการณ์ เครือข่ายพุทธสมาคม จ.เชียงราย แก้ปัญหา




   
  ส่อบานปลาย! น้อย-หนาน ต้านมัสยิดเชียงรายไม่หยุด
    เชียงราย - กลุ่มน้อย-หนานเวียงป่าเป้ายังเดินหน้าต้านการก่อสร้างมัสยิดในพื้นที่ อ้างกลัวกระทบวิถีชีวิตชุมชน ส่งผลต่อความมั่นคง แถมมีการแจกใบปลิวเรียกร้องชาวไทยพุทธขับไล่ข้าราชการที่ไฟเขียวให้สร้าง ขณะที่เครือข่ายมุสลิมยันเดินหน้าทำตามกฎหมาย ทำการเจรจายังไม่เป็นผล
     วันนี้ (2 พ.ค.) กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ซึ่งต่อต้านการก่อสร้างมัสยิด ศาสนาอิสลามที่ได้เข้าไปก่อสร้างมัสยิดที่บ้านโป่งน้ำร้อน ม.6 ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ต.แม่เจดีย์ใหม่ ต.เวียงป่าเป้า อ.เวียงป่าเป้า ได้จัดประชุมลับกันขึ้นเพื่อวางแผนทำกิจกรรมต่อต้านอีก หลังจากก่อนหน้านี้กลุ่มนี้เคยออกมาชุมนุม ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า เมื่อวันที่ 24 เมษายน 55 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการประชุมมีแนวโน้มไปในทางที่จะไม่มีการหยุดการเคลื่อนไหว แต่จะเคลื่อนไหวไปในทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องแทน
    นายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า กล่าวว่า หลังการนัดตกลงเจรจากับตัวแทนผู้ก่อสร้างมัสยิด ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า และการชุมนุมของชาวบ้านไม่ประสบผลสำเร็จ ทางนายอำเภอก็ได้มีการนัดหมายให้ตัวแทนชาวบ้านไปเจรจาที่ศาลากลาง จ.เชียงรายในวันที่ 30 เมษายน 55 แต่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งยกเลิก โดยนายอำเภอระบุให้ไปประชุมกันเฉพาะตัวแทนของชาวบ้านและฝ่ายปกครอง ณ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่เจดีย์ใหม่

ผลการประชุม ทางนายอำเภอระบุให้ชาวบ้านยุติการเคลื่อนไหว และให้เอาป้ายต่อต้านตามจุดต่างๆ ออกให้หมด เพราะนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย กำลังเจรจากับตัวแทนผู้นับถือศาสนาอิสลาม หรือให้ผู้ใหญ่ได้หารือเจรจากันก่อนนั่นเอง
       นายบุญนาคกล่าวอีกว่า เรายังคงจะปรึกษาหารือกันเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป เพราะผลปรากฏว่าในปัจจุบันการก่อสร้างมัสยิดไม่ได้ชะลอหรือหยุดลง ยังคงเดินหน้าก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทำให้พวกเราจะเคลื่อนไหวในทางวิชาการ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายจะทำวิจัยเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งการก่อตั้งมัสยิด โดยจะดำเนินการจนแล้วเสร็จราวสิ้นเดือนมิถุนายน 55 นี้ เพราะปัญหาใหญ่คือ กฎหมายไทย หากไม่แก้ไขอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกกันทั่วประเทศในอนาคต ซึ่งชาวบ้านจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าการตั้งมัสยิดในพื้นที่โดยที่ชุมชนไม่ยินยอมมาตั้งแต่ต้นจะกระทบวิถีชีวิตชาวบ้าน เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้วย
      รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ช่วงที่ชาวบ้าน ต.แม่เจดีย์ใหม่ มีการเคลื่อนไหวดังกล่าว ทางนายกมล ถมยาวิทย์ ที่ปรึกษาอาวุโส คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน เพื่อจังหวัดชายแดนใต้ (คปชต.) พร้อมด้วยตัวแทนชาวไทยมุสลิม จำนวน 8 คน ได้เดินทางเข้าพบนายอาณัติ วิทยานุกูล ปลัด จ.เชียงราย โดยมีรายงานว่าช่วงเดียวกันได้มีชาวบ้านที่ต่อต้านประมาณ 300 คน เดินทางไปประท้วง ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า และดำเนินการถึงขั้นมีการแจกใบปลิวไม่ต้องการศาสนาอื่น เพราะอาจจะนำมาซึ่งความแตกแยก และก่อเกิดเป็นปัญหาทางความมั่นคง นอกจากนี้ ได้เรียกร้องให้ชาวไทยพุทธขับไล่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่สนับสนุนและเห็นชอบในการสร้างมัสยิดครั้งนี้ด้วย
      นายกมลกล่าวว่า การดำเนินการก่อสร้างมัสยิดเป็นแรงศรัทธาของชาวไทยมุสลิมที่ร่วมกันลงเงินเพื่อจัดซื้อที่ดิน และทำการก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำพิธีทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่ อ.เวียงป่าเป้า และเดินทางไปตามถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ โดยได้มีการขออนุญาตตามขั้นตอนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนเอกสารสิทธิที่ดินก็ได้มาจากการซื้อขายโดยชอบธรรม
      ส่วนที่มีการคัดค้านของกลุ่มชาวไทยพุทธเราก็พยายามรับฟังเหตุผลมาโดยตลอด แต่จากที่สรุปได้ คือ การคัดค้านที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ พยายามชี้นำเพียงแค่ประเด็นความแตกแยกของชุมชน และตามกดดันเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เห็นชอบ หรือให้การสนับสนุนการก่อสร้าง ดังนั้น พยายามเดินตามวิถีทางที่ถูกต้องที่สุดในทุกขั้นตอน และให้มั่นใจว่าไม่ต้องการสร้างความแตกแยก





ชาวไทยพุทธนัดประท้วงต้านการก่อสร้างมัสยิด

    ที่วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กลุ่มชมรมน้อยหนานเวียงป่าเป้าและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้จัดประชุมเพื่อรับข้อมูลจากทางฝ่ายปกครอง อ.เวียงป่าเป้า องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่เจดีย์ใหม่ ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของจังหวัดในการเดินทางไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างมัสยิด ณ บ้านโป่งน้ำร้อน ม.6 ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า ติดถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ ที่รัฐสภา กรุงเทพฯ ขณะที่ทางชมรมและกลุ่มพลังประชาชนจำนวนมากเคยออกมาต่อต้านการก่อสร้างดังกล่าว โดยเคยมีการชุมนุมใหญ่ ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมามา ด้วยการให้เหตุผลเรื่องผลกระทบต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ขณะที่ทางมัสยิดยังคงมีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องและมีการยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วด้วย
     นายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า เปิดเผยว่า ในการประชุมครั้งนี้ทางจังหวัดและนายเชิดชาย พิบูลย์วุฒิกุล นายอำเภอเวียงป่าเป้า ไม่ได้เข้าประชุมด้วยแต่อย่างใด แต่ได้ให้ทางปลัดอำเภอเข้าให้ข้อมูลกับชาวบ้าน แต่ข้อมูลที่ได้ก็ไม่เป็นที่พึงพอใจ เพราะไม่สามารถระบุได้ว่า จะทำให้โครงการก่อสร้างระงับลงได้หรือไม่ ดังนั้นทางชมรมจึงประสานกับเครือข่ายทุกองค์กร เช่น พุทธสมาคมทั้งใน อ.เวียงป่าเป้า และ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เครือข่ายชมรมน้อยหนาน อ.เวียงป่าเป้า และอำเภอข้างเคียง ฯลฯ เพื่อกำหนดจัดการชุมนุมใหญ่ขึ้นในวันที่ 24 พ.ค.นี้
 
      สถานที่ชุมนุมคือถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ ตั้งแต่เชิงสะพานข้ามลำน้ำแม่เจดีย์ ต.แม่เจดีย์ใหม่ สุดเขตเทศบาล ต.แม่ขะจาน ไปจนถึงบริเวณสบโป่ง ต.แม่เจดีย์ใหม่ รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร โดยจะปิดถนนช่วงหัวท้าย เพื่อให้มีการจัดเวทีปราศรัยตรงกลางคาดว่า จะมีมวลชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และเป้าหมายคือการให้ได้คำตอบจากนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพราะเชื่อว่าเป็นคนที่สามารถตัดสินเรื่องนี้ได้ โดยการชุมนุมจะเริ่มตั้งแต่เวลาตี 4 ของวันที่ 24 พ.ค.เพราะต้องอาศัยการค่อยๆ ไปรวมตัวกัน จากนั้นเมื่อถึงเวลาประมาณ 07.00 น.เป็นต้นไป เชื่อว่าการดำเนินการก็จะแล้วเสร็จ ซึ่งพวกเราจะชุมนุมจนกว่าจะได้รับคำตอบที่พอใจ



http://breakingnews.nationchannel.com/h ... &cat=&key=



ผู้ว่าฯเชียงราย เปิดเวทีหาข้อยุติกรณีชาวไทยพุทธอำเภอเวียงป่าเป้า คัดค้านการสร้างมัสยิดของชาวไทยมุสลิม ส่อเค้าจะบานปลาย กลุ่มที่แสดงความไม่เห็นด้วย ดึงองค์กรพุทธศาสนาเข้าเป็นแนวร่วม และยืนกรานจะยังคงประท้วงปิดถนน สายเชียงใหม่ - เชียงราย แน่นอนในวันที่ 24 พ.ค.โดยมีผู้ชุมนุมจำนวนกว่า 3,000 คน จากทั้งเชียงรายและเชียงใหม่ จากนั้นได้แจกแผ่นซีดีชี้นำ"กฏหมายอิสลาม-กฏหมายล้างพุทธ "และโชว์แผนป้ายผ้าปลุกระดมใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดว่า ตื่นเถิดชาวพุทธ...เราโดนแล้ว ร่วมแสดงพลังพิทักษ์พระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเครือข่ายพุทธสมาคม ชมรมชาวพุทธ และศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา
    รายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 22 พ.ค. ที่ห้องประชุมมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยเขตพะเยา ห้องเรียนวัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย พระเทพรัตนามุณี เจ้าคณะภาค 6 พระเทพสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พ.อ.พรชัย ดุริยพันธ์ รอง ผอ.กอ.รมน.เชียงราย ฯลฯ ได้จัดให้มีการประชุมฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับการที่ชาวไทยมุสลิม จะทำการก่อสร้างมัสยิด ณ หมู่บ้านโป่งน้ำร้อน ม.6 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า (ติดถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่) โดยมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะพุทธสมาคม จ.เชียงราย และชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า ไปร่วมหารือเพื่อหาทางออก เนื่องจากการที่ได้มีชาวบ้านจำนวนมากในพื้นที่ออกมาต่อต้านการก่อสร้างดังกล่าว โดยชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า เคยเป็นแกนนำชุมนุมประท้วงต่อต้านการก่อสร้าง ณ ที่ว่าการ อ.เวียงป่าเป้า มาแล้วจนปัญหาส่อเค้าว่าจะบานปลาย กระนั้นการประชุมก็ไม่มีฝ่ายก่อสร้างแต่อย่างใดเนื่องจากทางจังหวัดได้เชิญไปให้ข้อมูลก่อนหน้านี้แล้ว





นายธานินทร์  สุภาแสน   ผู้ว่าราชการ เชียงราย

     อย่างไรก็ตามในการประชุมพบว่าทางกลุ่มต่อต้านนำโดยชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า ยังคงแสดงท่าทีต่อต้านเช่นเดิม โดยนายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า ได้เป็นตัวแทนยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีเนื้อหากังวลเกี่ยวกับความมั่นคง เนื่องจากตรวจสอบเขตพื้นที่ยาก และเคยเห็นเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้มาแล้ว รวมทั้งมีเนื้อหาเกรงว่าจะกระทบต่อเรื่องอื่นๆ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ก่อให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ฯลฯ โดยหลังจากเลิกประชุมแล้วยังได้มีการนำป้ายผ้าไปแสดงถึงจุดยืนอีกครั้งบริเวณหน้าห้องประชุม โดยมีรายละเอียดว่า ตื่นเถิดชาวพุทธ...เราโดนแล้ว ร่วมแสดงพลังพิทักษ์พระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเครือข่ายพุทธสมาคม ชมรมชาวพุทธ และศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา จากนั้นได้แจกแผ่นซีดีจำนวนมากให้กับผู้เข้าร่วมประชุม บนแผ่นระบุ ว่า ชาวพุทธต้องรู้...กฏหมายอิสลามอิสลาม-กฏหมายล้างพุทธ โดยภูวดล แดนไทย และยังระบุอีกด้วยว่า อภินันทนาการจากวัดสามชุก สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี คลื่น F.M.100.25 MHz.
    และนัดหมายเครือข่ายให้ไปชุมนุมเรียกร้องใหญ่อีกครั้ง บนถนนสาย เชียงราย-เชียงใหม่ ตั้งแต่บ้านแม่เจดีย์ เทศบาลตำบลแม่ขจาน อ.เวียงป่าเป้า ไปจนถึงบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ขณะเดียวกันช่วงท้ายแม้หลายฝ่ายจะพยายามชี้แจงทำความเข้าใจ แต่กลุ่มชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า ชมรมอาจารย์วัดเวียงป่าเป้า และพุทธสมาคมเวียงป่าเป้า ก็ยังแสดงความไม่พอใจ จึงได้นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งระงับการก่อสร้างอีกครั้งก่อนการปิดประชุม
    นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การแสดงออกของชาวบ้านที่ผ่านมา ก็ยังถือว่าอยู่ในกรอบของกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็ยังหวั่นเกรงอย่างมาก ว่า ปัญหานี้จะบานปลาย เพราะต้องยอมรับว่าการก่อสร้างมัสยิดดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบ และไม่มีข้อมูลหลักฐานว่าจะก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใดตามที่ระบุ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความมั่นคง แต่ก็มีการออกมาต่อต้านเหมือนกับว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอาวุธ ฯลฯ ตนจึงเห็นว่าเกิดจากปัญหาเรื่องการไม่ได้เจรจาตกลงกันตั้งแต่ต้น และปล่อยให้เวลาล่วงไปเกือบ 1 ปี จนมีการเคลื่อนไหวดังกล่าว ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายแสดงเจตจำนงค์เช่นนี้ ทางจังหวัดก็จะไม่สอบถามฝ่ายใดอีก แต่จะเสนอปัญหาไปยังมหาเถระสมาคม ซึ่งดูแลพุทธศาสนาทั่วประเทศ และจุฬาราชมนตรี ซึ่งดูแลประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม และรัฐบาล หากว่าได้คำตอบอย่างไร จังหวัดก็จะดำเนินการตามนั้นอย่างเข้มงวด โดยคำนึงถึงหลักกฏหมายและความถูกต้องเป็นที่ตั้ง
    นายธานินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับในอนาคตจะมีการจัดหาคนกลาง เพื่อประสานระหว่างสองฝ่าย เพื่อให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องภายนอก ยุติการเคลื่อนไหว เพื่อให้เรื่องราวสงบลงก่อน จากนั้นกลุ่มที่ก่อสร้างกับชาวบ้านในพื้นที่ จึงค่อยตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป ทั้งนี้การนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 พ.ค.หากว่าอยู่ในกรอบกฎหมายจังหวัดหรือเจ้าหน้าที่รัฐก็ยอมรับได้ แต่อย่าได้ปลุกระดมผู้คนออกมาเพื่อการกระทำผิดกฎหมาย เพราะทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งตำรวจ ทหารจะเฝ้าจับตาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นผลกระทบไปมากกว่านี้
    ด้านนายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า กล่าวว่า วันที่ 24 พ.ค.พวกเรายังจะไปชุมนุมแสดงพลังกัน เพราะมีความกังวลเรื่องปัญหาที่จะตามมาจากการก่อสร้างมัสยิดในพื้นที่ดังกล่าว โดยจะมีพี่น้องจากทั้งใน อ.เวียงเป้าเป้า และหลายพื้นที่ใน จ.เชียงใหม่ และใกล้เคียงไปร่วมด้วย คาดว่าจะมีคนไปชุมนุมประมาณ 3,000 คน โดยจะมีการตั้งเวทีปราศรัยและอื่นๆ ส่วนการรวมตัวจะมีขึ้นตั้งแต่เวลา 04.00 น.เป็นต้นไป เพื่อรอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปให้คำตอบว่าจะสั่งยุติการก่อสร้างหรือไม่ต่อไป
 ที่มา:ฟาตอนีออนไลน์




เวลา 10.00 น.วันนี้ (22 พ.ค. 55) ที่ห้องประชุมสำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมชี้แจงและแก้ไขปัญหาการก่อสร้างมัสยิดบ้านโป่งน้ำร้อน ร่วมกับชมรมน้อยหนานเวียงป่าเป้า’ โดยนายบุญนาค จอมธรรม เป็นประธาน ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนทำงานด้านกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา และการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

          เพื่อทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาการก่อสร้างมัสยิด ที่บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ 6 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ที่กลุ่มชาวพุทธร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างจนเกิดปัญหาที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ โดยมีพระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค 6 พระเทพสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย พ.อ.พรชัย ดุริยพันธ์ รองผอ.รมน.เชียงราย ผู้แทนจากฝ่ายต่างๆ แต่ไม่มีผู้แทนจากผู้ก่อสร้างมัสยิดเข้าร่วม
          นายธานินทร์ สุภาแสน กล่าวว่า เรื่องการเคารพศาสนา ทุกคนมีสิทธิ์นับถือศาสนาทุกศาสนา ยกตัวอย่างที่ในตัวเมืองเชียงรายที่มีการสร้างมัสยิดกลางเมืองเชียงราย ที่อยู่ติดกับวัดมิ่งเมืองก็ไม่มีปัญหา โดยศาสนาอิสลามก็สอนให้ทุกคนเป็นคนดีมีเมตตา มีความสุขสันติ การก่อสร้างอะไรที่เป็นวัตถุถาวรทางศาสนาทุกอย่างมาจากความเชื่อความศรัทธา อยากให้ทุกคนถอยมาคนละก้าวเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน โดยตนไม่มีอำนาจที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้แต่จะรับแนวทางข้อสรุปไปแจ้งกับมหาเถระสมาคม ทางจุฬาราชมนตรี และรัฐบาล เพื่อหาข้อยุติไปตอบปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจลามไปสู่สากลนาๆ ประเทศได้
          ด้านพระธรรมราชานุวัตร กล่าวเพิ่มเติมว่าเข้าใจและเห็นใจความรู้สึกของทุกฝ่าย แต่ขอให้ทุกคนคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ขอทุกคนถอยคนละก้าวอย่างที่ท่านผู้ว่ากล่าว การร้องเรียนหรือคัดค้านให้กระทำอย่างรอบคอบ อย่าให้กระทบกระเทือนกับอีกฝ่าย
          ทางด้าน พ.อ.พรชัย ดุริยพันธ์ กล่าวต่อว่าปัญหาดังกล่าวยังถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับที่ภาคใต้ยังมีความขัดแย้งมากกว่านี้อีก คนที่นับถือศาสนาพุทธและอิสลามยังอยู่ร่วมกันได้ ในฐานะที่ตนเป็นชาวพุทธให้ทุกคนแสดงออกในการไม่เห็นด้วยแต่ขออย่าให้กระทบกระเทือนกับอีกฝ่ายหนึ่ง ทุกคนต้องเสียสละเพื่อส่วนรวมให้คิดถึงในหลวงเป็นแบบอย่าง เพราะเรามีพ่อคนเดียวกัน
         ที่ประชุมได้ใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 1 ชั่วโมงยังหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งนายบุญนาค จอมธรรม ได้นำขันข้าวตอกดอกไม้มอบให้กับผู้ว่าฯ และขอผู้ว่าฯ เชิญผู้แทนคณะกรรมการมัสยิดเข้าร่วมฟังความคิดเห็นของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ที่จะนัดกันมาชุมนุมกันจำนวนประมาณ 3,000 คน ที่เชิงสะพานน้ำแม่เจดีย์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ เพื่อหาข้อยุติต่อไป
         มีรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มชาวบ้านที่จะมารวมตัวกันในวันนั้น ต้องการกดดันมิให้มีการก่อสร้างมัสยิดในพื้นที่ และหากว่ายังไม่ได้ข้อสรุปก็จะมีการรวมตัวกันปิดถนนสายเชียงราย- เชียงใหม่ เพื่อกดดันภาครัฐให้มาร่วมแก้ไขและให้หยุดก่อสร้าง ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจบานปลายไปสู่ระดับสากลได้

         นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การแสดงออกของชาวบ้านที่ผ่านมา ก็ยังถือว่าอยู่ในกรอบของกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็ยังหวั่นเกรงอย่างมาก ว่า ปัญหานี้จะบานปลาย เพราะต้องยอมรับว่าการก่อสร้างมัสยิดดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบ และไม่มีข้อมูลหลักฐานว่าจะก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใดตามที่ระบุ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความมั่นคง แต่ก็มีการออกมาต่อต้านเหมือนกับว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอาวุธ ฯลฯ ตนจึงเห็นว่าเกิดจากปัญหาเรื่องการไม่ได้เจรจาตกลงกันตั้งแต่ต้น และปล่อยให้เวลาล่วงไปเกือบ 1 ปี จนมีการเคลื่อนไหวดังกล่าว ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายแสดงเจตจำนงค์เช่นนี้ ทางจังหวัดก็จะไม่สอบถามฝ่ายใดอีก  แต่จะเสนอปัญหาไปยังมหาเถระสมาคม ซึ่งดูแลพุทธศาสนาทั่วประเทศ และจุฬาราชมนตรี ซึ่งดูแลประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามและรัฐบาล หากว่าได้คำตอบอย่างไร จังหวัดก็จะดำเนินการตามนั้นอย่างเข้มงวด โดยคำนึงถึงหลักกฏหมายและความถูกต้องเป็นที่ตั้ง
  นายธานินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับในอนาคตจะมีการจัดหาคนกลาง เพื่อประสานระหว่างสองฝ่าย เพื่อให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องภายนอก ยุติการเคลื่อนไหว เพื่อให้เรื่องราวสงบลงก่อน จากนั้นกลุ่มที่ก่อสร้างกับชาวบ้านในพื้นที่ จึงค่อยตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป ทั้งนี้การนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 พ.ค. หากว่าอยู่ในกรอบกฎหมาย จังหวัดหรือเจ้าหน้าที่รัฐก็ยอมรับได้ แต่อย่าได้ปลุกระดมผู้คนออกมาเพื่อการกระทำผิดกฎหมาย เพราะทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งตำรวจ ทหารจะเฝ้าจับตาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นผลกระทบไปมากกว่านี้
--------------------------------------------------------------


สร้างมัสยิดโป่งน้ำร้อนป่วน-ใบปลิวว่อนขู่ขับไล่ขรก.หนุน
     สำนักข่าวอะลามี่- ผู้แทนชาวไทยมุสลิม ยืนสร้างมัสยิดในอำเภอเวียงปาเป้า ขออนุญาติตามระเบียบกฏหมาย เผยมีบางกลุ่มพยาบามเสี้ยมให้เกิดความแตกแยก ขณะที่ชาติมุสลิมหลายประเทศตื่นติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ล่าสุด มีกลุ่มบุคคลออกใบปลิวโจมตีคัดค้านการสร้างมัสยิดบ้านโป่งน้ำร้อน อ.เวียงป่าเป้า  ขู่ขับไล่ข้าราชการทุกหน่วยที่สนับสนุน 
      เชียงราย- เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 30 เมษายน นายกมล ถมยาวิทย์ ที่ปรึกษาอาวุโส คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน เพื่อจังหวัดชายแดนใต้ (คปชต.) พร้อมด้วยตัวแทนชาวไทยมุสลิม จำนวน 8 คน ได้เดินทางเข้าพบ นายอาณัติ วิทยานุกูล ปลัดจังหวัดเชียงราย เพื่อหารือถึงการคัดค้านจากชาวไทยพุทธ ในการสร้างมัสยิด บริเวณถนนสายเชียงราย - เชียงใหม่ หมู่ที่ 6 บ้านโป่งน้ำร้อน  ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
      โดยชาวบ้านให้เหตุผลเพียงอย่างเดียวว่า ชุมชนไทยพุทธไม่ต้องการศาสนาใหม่เข้ามาปะปนอยู่ภายใชุมชน หลังจากก่อนหน้านี้ กลุ่มชาวบ้านที่เป็นไทยพุทธ จำนวนกว่า 300 คน ได้เดินทางไปรวมตัวประท้วง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า มาแล้ว เพื่อแสดงพลังร่วมกับชาวคริสเตียน เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา


 นายกมล ถมยาวิทย์ ที่ปรึกษาอาวุโส คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน เพื่อจังหวัดชายแดนใต้ (คปชต.) กล่าว่า ในการดำเนินการก่อสร้างมัสยิด เป็นแรงศัทธาของชาวไทยมุสลิม ที่ร่วมกันลงเงินเพื่อจัดซื้อที่ดิน และ ทำการก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเวียงป่าเป้า และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย ซึ่งจะต้องใช้เส้นทางนี้เป็นหลัก
             "ในการดำเนินการครั้งนี้ มีการขออนุญาตทุกขั้นตอน ถูกต้องตามกฏหมาย ตลอดจนเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ก็ได้มาจากการซื้อขายโดยชอบธรรม ส่วนที่มีการคัดค้านของกลุ่มชาวไทยพุทธ เราก็พยายามรับฟังเหตุผลมาโดยตลอด แต่จากที่สรุปได้ คือ การคัดค้านที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ พยายามชี้นำ เพียงแค่ประด็นการแตกแยกของชุมชน และตามกดดันกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เห็นชอบ หรือ ให้การสนับสนุนการก่อสร้าง" นายกมล กล่าว และว่า
            กลุ่มชาวไทยมุสลิมในชุมชน พยายามเดินตามวิถีทางที่ถูกต้องที่ีสุด ในทุกขั้นตอน และให้มั่นใจว่า ไม่ต้องการสร้างความแตกแยกแต่อย่างใด กับชาวไทยพุทธ หากแต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มของชาวไทยพุธ ที่พยายามชี้นำและชักจูงชาวบ้าน ให้เกิดความเข้าใจผิด และ ใส่ร้ายป้ายสี ให้เป็นศาสนาที่น่ารังเกียจ ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องนี้ กำลังจะกลายเป็นปัญหาระดับชาติ ที่เกี่ยวข้องไปถึงโลกมุสลิม หลังจากมีข่าวการคัดค้านโดยมีกลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนในวันแรก
            ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในวันเดียวกันได้มีใบปลิวออกมาแจกจ่ายทั่วทั้งอำเภอเวียงป่าเป้า เพื่อเรียกร้องให้ชาวไทยพุทธ ออกมาเคลื่อนไหวในการคัดค้านต่อต้านการสร้างมัสยิด ของชาวไทยมุสลิม โดยชี้แจงในเอกสารใบปลิว ว่า ชุมชนแห่งนี้ไม่ต้องการศาสนาอื่น เข้ามาอยู่ร่วมกันอีก เพราะอาจจะนำมาซื่งความแตกแยก และก่อเกิดเป็นปัญหาทางความมั่นคง
           นอกจากนี้ได้เรียกร้องให้ชา่วไทยพุทธ ได้พร้อมกันขับไล่ข้าราชการทุกส่วน ตั้งแต่ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ และจังหวัด ที่ให้การสนับสนุนและเห็นชอบในการสร้างมัสยิดครั้งนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มุสลิมเชียงใหม่นิวส์    ผู้รับผิดชอบการสร้างมัสยิดบ้านโป่งน้ำร้อนชี้แจงสื่อ หลังจากโดนคนในพื้นที่ ต่อต้าน ไม่ยอมให้สร้าง อ้างจะสร้างความแตกแยก เป็นภัยความมั่นคง
ระบุวัตถุประสงค์ การสร้างเพื่อใช้เป็นเพียง สถานที่ปฏิบัติ ศาสนกิจเท่านั้น ไม่มีเจตนาอื่น  วอนขอความเห็นใจ
       เมื่อเวลา ๐๙.๐๐ น. วันที่ ๖ พ.ค.๕๕  นายกมล ถมยาวิทย์ บ้านเลขที ๗๐/๖ หมู่ ๒ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ การก่อสร้างมัสยิด บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ ๖ ต.เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย  ได้นำเอกสารหลักฐาน เข้าพบผู้สื่อข่าว และชี้แจงว่า ตามที่มีเอกสาร ใบปลิวในนามของกลุ่มชาวบ้านใน ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ออกมาต่อต้านการสร้างมัสยิด ในพื้นที่  โดยกล่าวหาว่า เป็นการสร้างความแตกแยก  และเป็นภัยความมั่นคง และยังกล่าวโจมตีหน่วยงานราชการในพื้นที่ ที่มีการอนุมัติให้มีการสร้างมัสยิดแห่งนี้

เพิ่มอ้างจาก    http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=630760
ในเอกสารใบปลิว ว่า ชุมชนแห่งนี้ไม่ต้องการศาสนาอื่นเข้ามาอยู่ร่วมกันอีก เพราะอาจจะนำมาซื่งความแตกแยก และก่อเกิดเป็นปัญหาทางความมั่นคง นอกจากนี้ได้เรียกร้องให้ชาวไทยพุทธ ได้พร้อมกันขับไล่ข้าราชการทุกส่วน ตั้งแต่ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ และจังหวัด ที่ให้การสนับสนุนและเห็นชอบในการสร้างมัสยิดครั้งนี้
          นายกมล  ถมยาวิทย์    กล่าวว่า    การสร้างมัสยิด กำหนดสร้างในพื้นที่ ๓ ไร่ เขตพื้นที่
บ้านโป่งน้ำร้อน  หมู่ ๖ ต.เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ขณะนี้มีการดำเนินการก่อสร้างมาประมาณ ๒ เดือนแล้ว โดยก่อนการสร้าง ได้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องทุกอย่าง ทั้งการขออนุญาต  จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  
     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  ใช้เป็นสถานที่ ปฏิบัติศาสนกิจของพี่น้องชาวมุสลิม ที่เดินทางไปมาระหว่าง เชียงรายและเชียงใหม่  จะได้แวะปฏิบัติศาสนกิจ  ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง  และการสร้างมัสยิดแห่งนี้  ก็ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการอิสลามจังหวัดเชียงราย  โดยได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่สร้างมัสยิดอยู่กึ่งกลางระหว่าง จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ สะดวกต่อพี่น้องมุสลิม ที่เดินทางมาถึงบ้านโป่งน้ำร้อน  สามารถเข้าประกอบศาสนกิจได้ จึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างได้
      การสร้างมัสยิดในพื้นที่ ดังกล่าวข้างต้น  ถูกโจมตีว่า   เป็นการสร้างเพื่อให้เกิดการแตกแยก และเป็นภัยต่อความมั่นคง ขอชี้แจงว่า ศาสนาทุกศาสนา สอนให้คนเป็นคนดี และแต่ละศาสนา ก็มีวัตรปฏิบัติต่างกันไป จึงขอให้ พี่น้องประชาชนในพื้นที ได้เข้าใจด้วย  นายกมล  กล่าว  

ที่มา จากหนังสือพิมพ์ รายวัน ไทยนิวส์ เชียงใหม่
ฉบับประจำวันจันทร์ที 7 พฤษภาคม ๒๕๕๕


--------------------------------------------------------






คัดค้านสร้างมัสยิดโป่งน้ำร้อน สู่ปมขัดแย้งทางศาสนา เหตุบานปลายเพราะรัฐแก้ปัญหาไม่เป็นธรรม

    คำสั่งล่าสุดของนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในการให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด เข้าทำการตรวจสอบการก่อสร้างของอาคารมัสยิดบ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 6 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย ที่พอจะนำมาวิเคราะห์ได้ว่า จังหวัดเองกำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ในการหาช่องว่าง เพื่อสั่งระงับการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้ให้จงได้
     ก่อนหน้านี้นายอำเภอเวียงป่าเป้า ก็พยายามใช้วิธีการเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว เพราะนั่นอาจจะเป็นทางออกของข้าราชการฝ่ายปกครอง ในการที่ลดกระแสของมวลชนอีกฟากหนึ่ง หมายถึงกลุ่มคัดค้านที่เป็นชาวไทยพุทธ ที่ออกโรงเคลื่อนไหวคัดค้านในนามชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า และชมรมอาจารย์วัดเวียงป่าเป้า รวมถึงองค์กรทางด้านพุทธศสานาในระดับจังหวัด มาโดยตลอด เหตุการณ์นี้กลุ่มผู้คัดค้านได้ระดมมวลชนมาจำนวนมาก เพื่อแสดงพลังด้วยเหตุผลสั้นๆว่า ชุมชนที่นี่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างมัสยิด และไม่ต้อนรับศาสนาอื่นที่จะเข้ามา
     นอกจากนี้ยังได้มีใบปลิวออกมาแจกจ่ายทั่วทั้งอำเภอเวียงป่าเป้า เพื่อเรียกร้องให้ชาวไทยพุทธ ออกมาเคลื่อนไหว ในการคัดค้านต่อต้านการสร้างมัสยิด ของชาวไทยมุสลิม โดยชี้แจงในเอกสารใบปลิว ว่า ชุมชนแห่งนี้ไม่ต้องการศาสนาอื่น ให้เข้ามาอยู่ร่วมกันอีก เพราะอาจจะนำมาซึ่งความแตกแยก และก่อเกิดเป็นปัญหาทางความมั่นคง นอกจากนี้ได้เรียกร้องให้ชาวไทยพุทธ ได้พร้อมใจกันขับไล่ข้าราชการทุกส่วน ตั้งแต่ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ และจังหวัด ที่ให้การสนับสนุนและเห็นชอบในการสร้างมัสยิดครั้งนี้
     ภายหลังการเจรจาและประชุมร่วมกัน กระทั่งฝ่ายคัดค้านได้รวมตัวกลุ่มชาวบ้าน มาแสดงพลังคัดค้าน ณ หน้าที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า นับจากนั้นเป็นต้นมาการเจรจาที่มีทางอำเภอเป็นตัวกลาง ดูเหมือนว่าจะเริ่มไม่เป็นผล กระทั่งเรื่องนี้ถูกโยนขึ้นพิจารณาในระดับจังหวัด แต่ท้ายที่สุดก็ยังไม่ปรากฏว่าจะมีทางออกที่ดีไปกว่า การหาช่องทางเพื่อสั่งระงับการก่อสร้างเพียงสถานเดียว และไม่พยายามมองความถูกต้อง อันเนื่องจากระเบียบกฎหมายแต่อย่างใด
     ตั้งแต่การเริ่มต้นซื้อที่ดิน กระทั่งถึงการเขียนแบบ และการขออนุญาต เราได้ดำเนินการในทุกขั้นตอนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่หลังจากที่มีกลุ่มผู้คัดค้าน หน่วยงานของรัฐ ต่างก็พยายามโน้มน้าวให้เราหยุดการก่อสร้าง โดยได้พยายามตั้งข้อสังเกตุว่า ทางเรามีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายหรือไม่ การกระทำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะนี้ แล้วจะให้บอกว่าความเป็นธรรมของสังคมอยู่ตรงไหน หรือเพียงเพราะพลังมวลชนอีกฟากหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่านายกมล ถมยาวิทย์ ที่ปรึกษาอาวุโส คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน เพื่อจังหวัดชายแดนใต้ (คปชต.) ในฐานะผู้ขออนุญาต กล่าวา และว่า
     ในการดำเนินการก่อสร้างมัสยิด เป็นแรงศัทธาของชาวไทยมุสลิม ที่ร่วมกันลงเงินเพื่อจัดซื้อที่ดิน และทำการก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเวียงป่าเป้า และผู้ที่เดินทางผ่านไปมาระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย ซึ่งจะต้องใช้เส้นทางนี้เป็นหลัก  ส่วนที่มีการคัดค้านของกลุ่มชาวไทยพุทธ เราก็พยายามรับฟังเหตุผลมาโดยตลอด แต่จากที่สรุปได้ คือการคัดค้านที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ อีกทั้ง พยายามชี้นำเพียงแค่ประเด็นการแตกแยกของชุมชน และตามกดดันกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่ผ่านความเห็นชอบมาตามลำดับตั้งแต่ต้น
     กลุ่มชาวไทยมุสลิมในชุมชน พยายามเดินตามวิถีทางที่ถูกต้องที่สุด ในทุกขั้นตอนตามระเบียบกฎหมาย และให้มั่นใจว่าไม่ต้องการสร้างความแตกแยกแต่อย่างใดกับชาวไทยพุทธ หากแต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มของชาวไทยพุทธ ที่พยายามชี้นำและชักจูงชาวบ้าน ให้เกิดความเข้าใจผิด และใส่ร้ายป้ายสี ให้เป็นศาสนาที่น่ารังเกียจ ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องนี้กำลังจะกลายเป็นปัญหาระดับชาติ ที่เกี่ยวข้องไปถึงโลกมุสลิม หลังจากมีข่าวการคัดค้านโดยมีกลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนในวันแรก และถึงขั้นเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายของอิสลาม ว่าด้วยการอนุญาตให้มีการจัดสร้างมัสยิดนายกมล กล่าว
     นายบุญนาค จอมธรรม ประธานชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า ในฐานะแกนนำชุมนุมคัดค้าน กล่าวว่า ชาวบ้านไม่อยากให้มีการก่อสร้างสถานที่ทางศาสนาอื่นในพื้นที่ เพราะการก่อสร้างมัสยิดตามหลักศาสนาอิสลามนั้น ยอมรับว่าตามกฎหมายระบุไม่ต้องมีการทำประชาคม แต่จากการสอบถามความเห็นของชาวบ้านในภาพรวมพวกเขาก็ไม่ต้องการจริงๆ เพราะเกรงจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาจึงเคยมีการประชุมหารือกับฝ่ายผู้จัดตั้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ก็ไม่ได้ข้อยุติ เพราะทางฝ่ายมัสยิดยืนยันจะก่อสร้าง เพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ชาวบ้านก็เกรงจะมีผลกระทบ เช่น ความมั่นคง เพราะเห็นจากเหตุการณ์ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิถีชีวิตจะเปลี่ยนไป วัฒนธรรมที่จะถูกกระทบ จึงขอให้มีการชะลอการก่อสร้างไปก่อน
      น.ส.เขมภัทร แสงมณี ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวถึงความรู้สึกว่า ชาวบ้านไม่ได้ต่อต้านศาสนาอื่นรวมทั้งศาสนาอิสลาม แต่อยากให้ย้ายสถานที่ไปก่อสร้างที่อื่นแทน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ติดกับวัด ซึ่งชาวบ้านอาศัยอยู่กันตามวิถีชาวพุทธและเรียบง่าย จึงกลัวว่าจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่สุด
     นายราชัน รุจิพันธ์ ประธานกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดเชียงราย กล่าวให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ปมความขัดแย้งนี้ยังเชื่อว่าสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการทำความเข้าใจในเหตุและผลที่แท้จริง เพราะชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นศาสนาที่อยู่ร่วมกันมาและกระจัดกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ ไม่เคยมีแนวความคิดหรือปรากฏการณ์ที่จะสร้างความแตกแตก ระหว่างศาสนาแต่อย่างใด ส่วนกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ฝ่ายปกครองคงต้องลงลึกในรายละเอียดว่า มีเหตุผลหรือเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรที่มากกว่านี้หรือไม่ อันเป็นเหตุสู่การคัดค้านครั้งนี้
     จากจุดเล็กๆที่เป็นความขัดแย้งทางความคิดของชุมชนทั้งสองฝ่าย แต่วันนี้ดูเหมือนว่า สถานการณ์จะเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อระเบียบกฎหมายที่มีอยู่ กลับไม่ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่หรือคนของรัฐ หากแต่การแก้ปัญหาเป็นเพียงการแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆเท่านั้น
   การสร้างมัสยิดโดยกลุ่มชาวไทยมุสลิม หรือผู้นับถืออิสลาม ในเขตหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 6ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า มีปฏิกิริยาคัดค้านอย่างหนัก จากกลุ่มชาวไทยพุทธ และคริสเตียน ภายในพื้นที่ โดยให้เหตุผลว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่ ไม่ต้องการซึ่งนั่น คือจุดเริ่มต้นของปมความแย้งภายในชุมชน ที่บานปลายมากระทั่งเกิดการประท้วงใหญ่  ณ ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา
     ประเด็นความขัดแย้ง หรือ ความเห็นที่ไม่ตรงกันของชุมชนทั้งสองฝ่าย ยังไม่ถือเป็น หัวใจของเหตุการณ์นี้มากนัก หากจะเปรียบเทียบกับการมองไปที่ขบวนการจัดการของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะบทบาทและท่าทีของนาย เชิดชาย พิบูลย์วุฒิกุล นายอำเภอเวียงป่าเป้า ซึ่งดูจากชั้นเชิงการบริหารจัดการมวลชนทั้งสองฝ่าย ช่างไม่เห็นทางสว่างเอาเสียเลย อีกทั้ง พยายามโยน เผือกร้อนๆจากกรณีปัญหานี้ให้กับทางจังหวัด ทั้งที่สถานการณ์ใช่ว่าจะอยู่ในระดับอำเภอจะรับไม่ได้ สำคัญแต่วิธีการในการ จัดการมากกว่า   
     คำถามมีอยู่ว่า   ถูกต้องแล้วหรือไม่ ที่ไม่มีการควบคุมให้เกิดความสมดุลระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ในระหว่างการนัดหมาย เพื่อการเจรจาหาข้อยุติ และถูกต้องแล้วหรือไม่ ที่ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งไปดึงองค์กรทางพุทธศาสนามาเป็นแนวร่วม และชักนำพระสงค์องค์เจ้า มาร่วมในการประท้วงด้วย จนพาสถานการณ์ตึงเครียดหนักเข้าไปอีก
    เพียงด้วยเหตุนี้ ปัญหาก็จะไม่ได้หยุดเพียงแค่การก่อสร้างมัสยิดแล้ว...!! หากแต่เป็นเรื่องของ ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ ซึ่งยิ่งจะทำให้มีความ "บอบบางแก้ไขยากเข้าไปอีก แค่นี้สองประเด็นนี้ก็น่าจะฉายภาพความล้มเหลวในการแก้ปัญหาได้อย่างไม่ผิดนัก
     ในขณะที่ตัวแทนจากฝ่ายสร้างมัสยิด ตัดสินใจไม่เข้าร่วมในการประชุมรอบนี้ เพราะเห็นว่า มีสภาวะกดดันอย่างหนัก จากฝ่ายตรงข้าม แต่ในบรรยากาศเช่นนั้น ท่านนายอำเภอก็ยังเปรยในที่ประชุมว่า ไม่น่าจะขาดประชุม แม้จะมีผู้คนอยู่จำนวนมาก แต่อยากให้รู้ว่าคนเวียงป่าเป้าใจดี  ไม่มีไรต้องเห็นน่ากลัว
    สถานการณ์ที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆนี้ มีแนวโน้มจะบานปลายไปไม่ใช่น้อย เพียงแค่จากช่องว่างๆเล็กๆที่อำเภอปล่อยให้มวลชนเกิดการรวมตัวกัน เกินกว่าความเหมาะสมที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะการจุดไฟ โดยให้องค์การด้านศาสนาเข้ามาชนกัน ถึงขั้นเลยเถิด และเลยเกินที่จะเรียกว่า เป็นเรื่องของมวลชนสองฝ่าย ซะด้วยซ้ำ
     อาจจะไม่ผิดนัก ที่จะคิดและพึงระวังได้ ต่อพลังมวลชนเสียงข้างมาก แต่กรอบของความเป็นธรรมในสังคมก็น่าจะยังคงอยู่  โดยเฉพาะการยึดแนวทางตามระเบียบและกฎหมาย 

--------------------------------

เสียงก้องจากพี่น้องมุสลิม

ประเทศไทยเป็น หนึ่งในแดนศิวิไลซ์เท่าเที่ยมกับอารยะประเทศ  ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศบนโลกใบนี้ที่ให้เสรีภาพด้านศาสนากับทุก ศาสนา  รวมถึงศาสนาอิสลามซึ่งเป็นศาสนาแห่งสันติก็ได้มีการเผยแพร่คำสอนมานานนับ ร้อยปีและทุกพื้นที่ของประเทศ  ทุกจังหวัดมีมัสยิดตั้งอยู่ แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่ามีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นแต่อย่างใด
   เรื่องที่มีกรณีชมรมน้อย-หนานเวียงป่าเป้า มีการชุมนุมประท้วงต่อต้านการก่อสร้างมัสยิดของชาวมุสลิม ณ บ้านโป่งน้ำร้อน ม.6 .แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย พื้นที่ติดถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่  ด้วยให้เหตุผลเรื่องผลกระทบต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
  ผู้ดำเนินการก่อสร้าง มัสยิดแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ระบุว่า ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้านตามหลักของกฏหมายก่อนจะเริ่มก่อสร้าง มัสยิด แต่ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ เพราะเห็นว่า การสร้างมัสยิดมีหลักเกณฑ์ต่างจากการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมยืนยันว่าจำเป็นต้องสร้างมัสยิดเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจสำหรับชาว มุสลิมในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลาม”  ที่มา http://muslimchiangmai.net  พฤษภาคม 26, 2012
   ทางจังหวัดได้เรียก ประชุมสอบถามเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันและเพื่อหาทางออกของปัญหา แต่ปัญหายังไม่ยุติลง อันเนื่องมาจากปัญหานี้เกี่ยวข้องกับสองศาสนาของประชนชาวไทย จึงต้องเสนอปัญหาไปยังมหาเถระสมาคม ซึ่งดูแลพุทธศาสนาทั่วประเทศ และจุฬาราชมนตรี ซึ่งดูแลประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม หากว่าได้คำตอบอย่างไร จังหวัด ก็จะดำเนินการตามนั้นอย่างเข้มงวด โดยคำนึงถึงหลักกฎหมายและความถูกต้องเป็นที่ตั้ง
   เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ทั้งตำรวจ ทหารคงเฝ้าจับตาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นผลกระทบไปมากกว่านี้
       การแสดงออกของชาวบ้านที่ผ่านมา ก็ยังถือว่าอยู่ในกรอบของกฎหมาย และยังไม่มีการปลุกระดมผู้คนออกมาเพื่อการกระทำผิดกฎหมาย
     ผู้ดูแลการก่อสร้าง รายงานว่า ในการก่อสร้างมัสยิด ก็ยังไม่มีกลุ่มประท้วงลุกขึ้นไปถึงพื้นที่สร้างมัสยิด การก่อสร้างได้เดินหน้าตามปกติอยู่ไม่มีใครมาขัดขวางแต่ประการใดเราหวังว่า ปัญหานี้จะไม่ทำให้บานปลาย  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า (ต้อง ยอมรับว่า การก่อสร้างมัสยิดดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบ และไม่มีข้อมูลหลักฐานว่า จะก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใดตามที่ระบุ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความมั่นคง)  ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 22พฤษภาคม 2555
    เราคิดว่าพี่น้องคน เมืองล้านนา ในไม่กี่วันข้างหน้าเขาคงจะเข้าใจ เนื่องจากพื้นฐาน ของวิถี วัฒนธรรม ของคนล้านนา เป็นคนที่มีน้ำใสใจจริง แก่แขกผู้มาอยู่หรือมาเยือน
   ดังนั้นเพื่อเป็นการลด การเผชิญหน้ากับกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างมัสยิดแห่งดังกล่าว เราจึ่งข้อให้พี่น้องมุสลิมทั่วประเทศไม่ต้องเคลื่อนไหวแสดงพลังประท้วงตอบ โต้ในเรื่องนี้ การก่อสร้างอาจจะต้องชะลอหรือเลื่อนการสร้างออกไปก่อนจนกว่า บรรยากาศจะคลี่คลาย เราจึงร่วมกันให้กำลังใจ และใช้ความอดทนในการรอคอยเวลาอันสมควรที่จะมาถึงตามพระประสงค์ของพระองค์ เท่านั้น   อินชาอัลลอฮ์ ร่วมกันขอพร
   แท้จริงการสร้างมัสยิดเป็นการสร้างบ้านมอบให้อัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า เรามีเป้าหมายที่ดีเราก็ต้องใช้วิธีการที่ดี
   วิธีการที่ดีงาม และนิ่มนวลถือว่าเป็นหนทางที่ดีไปสู่เป้าหมายที่ดีและความถูกต้อง ส่วนการใช้วิธีการรุนแรง แข็งกระด้าง การขู่เข็น การต่อสู้ การประกาศความเป็นศัตรู นั้นเป็นหนทางนำไปสู่ความเสียหายมากกว่าความดีงาม  
   มุสลิมต้องแสดงความ อ่อนน้อมเมื่อเจอกันและต้องให้ความเคารพต่อผู้อื่นเสมอ พระองค์ทรงตรัสว่า บ่าวที่ดีสุดของพระองค์ผู้ทรงปรานี คือ ผู้ที่เดินบนแผ่นดินด้วยความนอบน้อม (อัลกุรอาน-  ซูเราะฮฺ อัลฟุรกอน : 63)
    เราขอเรียกร้องพี่น้องตรงนี้ ในปัญหาแบบนี้ ให้มายึดแนวทางจากอัลกุรอ่านและซุนนะห์ แบบฉบับของท่านนบีที่อัลลอฮทรงรับรอง
  ท่าน นบีของเราในขณะที่ ท่านเรียกร้องผู้คนไป สู่ศาสนาอิสลาม ศาสนาอห่งสันติภาพท่านก็หาใช้วิธีการเดินประท้วงไม่ และไม่ได้ขู่เข็นผู้คน หรือลอบสังหารผู้คนแต่อย่างใด ทั้งๆที่ผู้ศรัทธาในช่วงนั้นถูกโจมตีรังแกจากผู้ที่ไม่เข้าใจสัจธรรมอย่าง หนัก บางคนถึงต้องถูกฆ่าตาย บางคนต้องถูกหินไฟมาทับ บางคนก็เห็นพ่อแม่ของตัวเองโดนสังหารต่อหน้าต่อตา ถึงเช่นนั้นแล้ว ท่าน นบีก็ยังปลอบใจพวกเขาให้มีความอดทน เพราะสวรรค์จะเป็นที่พำนัก และสุดท้ายที่ท่านได้พิชิตเมืองมะกกะห์และผู้คนโดยที่ท่านไม่ต้องการที่จะ สังหารผู้ใดสักคน และท่านยังให้อภัยต่อทุกคนที่เคยทำร้ายท่านในอดีต
     ท่านนบี และบรรดาสาวกนั้น พวกเขาใช้วิธีการอย่างสุขุม การตักเตือนโดยดี มีความอดทน และหวังผลตอบแทนในโลกหน้า
   อัลลอฮฺตรัสต่อศาสนทูตของพระองค์ว่า จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด  (อัลกุรอาน-  อัลอะร็อฟ 7:199)
ท่านนบี กล่าวว่า ผู้ที่แข็งแรงไม่ใช่ผู้ที่สามารถเอาชนะผู้อื่นได้ (ในการต่อสู้) หากแต่ผู้ที่แข็งแรงนั้น คือผู้ที่สามารถควบคุมตัวของเขาได้ ในยามที่เขาโกรธ”   (รายงานโดยอะหมัด    2/236)  
   คนไทยทุกคน แม้ว่านับถือศาสนาที่แตกต่างกัน แต่ทุกฝ่ายต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้  ในมาตรา 30  “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน...”   ในมาตรา 36 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นอยู่ในราชอาณาจักร”  
   ในมาตรา 38 “บุคคล ย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกาย ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการ ปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบ ร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความ คุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์ อันควรมีควรได้เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของ ศาสนา ลัทธินิยม ในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตาม ความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น ”  
   ในมาตรา 73    “รัฐ ต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุน การนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายอย่าได้ออกมาต่อต้านหรือคัดค้านการก่อสร้างศาสนสถาน
ศาสนสถานคือศูนย์รวมใจ ของพี่น้องแต่ละศาสนิก วัดสำหรับพุทธศาสนิกชน มัสยิดสำหรับมุสลิม    อย่าลืมนะครับ ศาสนาทุกศาสนา สอนให้คนรักกัน
    ชาวพุทธส่วนใหญ่ใน ประเทศไทยเห็นว่า การที่ชาวมุสลิมจะสร้างมัสยิด ก็เป็นเรื่องของมุสลิม ถ้าพวกเขาไม่ทำให้สถานะความเป็นอยู่ในชุมชนเดือดร้อน ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องทำให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องมาชุมนุมประท้วงต่อต้าน  เพราะพุทธศาสนิกชนไม่ควรเบียดเบี่ยนคนอื่น
     การยอมรับความแตกต่างหลากหลายคือความงดงาม และเป็นหนทางเดียวที่จะนำมาซึ่งสันติภาพและสันติสุขบนโลกใบนี้....
    
   ‏‏الجمعة‏، 12 رجب‏، 1433
    วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.. 2555
    
   อิหม่ามอะหมัดซิดดีก อับดุลเราะห์มาน

   เครือข่ายมุสลิมรักมนุษยชาติแห่งประเทศไทย Darussalam
   สำนักงานอิหม่ามข่ายมุสลิมรักมนุษยชาติแห่งประเทศไทย 
Darussalam  157 .14 .ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย  57110
    


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพการเดินธรรมยาตรา ประท้วง แสดงเจตนารมณ์ ของคนในชุมน











       การประท้วงการชุมนุมและคัดค้าน ยังคงมีต่อเนื่อง และต่อไป ความคืบหน้าในเรื่องนี้
 สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ในฐานะที่มีสมาชิก เป็นผู้เข้าร่วมประท้วงด้วย คัดค้านด้วย ได้แสดงออก ด้วยความเห็นใจทั้งสองฝ่าย
      การแก้ปัญา คงยุติลงได้ด้วยการเจรจา และทำความเข้าใจ จริงใจกันทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจปฎิบัติตามกฎหมายและรักษากฎหมายไม่เลือกวิธีปฎิบัติ เห็นใจชุมชน ก็คงไม่มีการชุมชนุม รุนแรงก้าวล่วงจนถึงขนาดนี้  
                                   สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่  โปรดติดตามตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น