สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่

สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่
ข้อมูลพื้นฐานตำบล

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รางวัลที่ 3 การจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ (ระดับประเทศ ปี 2552 )

     การประกวดโครงการการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2552
 ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)(สสนก.)  ซึ่งมีสมาชิกชุมชน 18 ชุมชนเข้าร่วมประกวด คณะกรรมการตัดสินให้ "ชุมชนหนองปิ้งไก่ จ.กำแพงเพชร" ได้รางวัลชนะเลิศ ประเภทน้ำแล้ง รางวัลรองชนะเลิศ เป็นของ "ชุมชนปิยะมิตร 3 อ.เบตง จ.ยะลา" ประเภทชุมชนต้นน้ำ และรางวัลที่ 3 เป็นของ "เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย" ในประเภทชุมชนต้นน้ำ
     สำหรับชุมชน "ชุมชนหนองปิ้งไก่" ซึ่งได้รางวัลชนะเลิศ คณะกรรมการให้เหตุผลว่าเป็นชุมชนน้ำแล้งที่สามารถพลิกสภาพขาดแคลนน้ำทำนาและความยากจน โดยชาวบ้านร่วมมือกันพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการระบบชลประทานเกษตร นำ "ระบบแต" ซึ่งเป็นการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันมาใช้ จนสามารถกักเก็บน้ำทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง มีผลผลิต 80 ถังต่อไร่
     ส่วน "บ้านปิยะมิตร" อ.เบตง จ.ยะลา เป็นชุมชนต้นน้ำที่ประสบปัญหาการจัดการและการส่งน้ำ และเผชิญกับปัญหาน้ำหลากทุกปี แต่ได้นำแนวพระราชดำริด้านการจัดการน้ำมาใช้จนสามารถอนุรักษ์และดูแลป่าต้นน้ำพื้นที่ 3,000 ไร่ สร้างฝายเก็บน้ำ ระบบน้ำประปา นำน้ำมาใช้เลี้ยงปลาและปลูกผักเสริมรายได้ รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มลาดตระเวนสำรวจป่าต้นน้ำเพื่อเฝ้าระวังและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน 
     รางวัลที่ 3 "เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว" อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ชุมชนต้นน้ำที่เผชิญกับปัญหาป่าไม้ถูกทำลายจากการตัดถนนและทำเหมืองแร่ จึงหันมาใช้แนวพระราชดำริในการตั้งเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว ทำฝายเพื่อทดแทนน้ำและปลูกป่าทดแทน จนมีป่ามีน้ำกลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ สามารถใช้เพื่อการเกษตรและการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 
     ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกิตติมศักดิ์ สสนก. ประธานในพิธีมอบรางวัลครั้งนี้ กล่าวว่า สสนก. และมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ร่วมกันจัดทำโครงการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริมาเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยโครงการนี้นับว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นคงในการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ 
     "ประเทศไทยมีชุมชนมากกว่า 60,000 ชุมชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการทรัพยกาน้ำที่มีประสิทธิภาพ และต้องประสานร่วมกันเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยกรน้ำระดับชุมชนต่อไป ซึ่งโครงการของโคคา-โคลาฯ ที่จัดประกวดปัจจุบันมีชุมชน 54 ชุมชน เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ และเรามุ่งมั่นที่จะขยายเครือข่ายน้ำให้ครอบคลุมกว้างขวางที่สุด" ดร.สุเมธกล่าว 
     ขณะที่พลตรีพัชร รัตตกุล กรรมการมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนการประกวด กล่าวว่า โคคา-โคลาตระหนักดีว่าน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญของชีวิตและความยั่งยืนของชุมชน โดยโคคา-โคลามีเป้าหมายทั่วโลกในการคืนน้ำสู่ชุมชนและธรรมชาติ ในปริมาณที่เทียบเท่ากับปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มภายในปี 2563 หรือที่เรียกว่าการคืนน้ำสู่ธรรมชาติ และโปรแกรมการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริดังกล่าว ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมรักน้ำ ตามแนวคิด Live Positively ของโคคา-โคลาบริษัทแม่ ที่ต้องการตอบแทนสังคม
     "มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ยังมีโครงการต่อยอดให้การสนับสนุนชุมชนที่ผ่านการเข้าประกวด เข้าร่วมในโครงการ "ชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่ดีมีสุข" ซึ่งเป็นโครงการที่มูลนิธิฯ ร่วมกับ สสนก.สนับสนุนการวางแผนและการดำเนินกิจกรรมจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ โดยใช้ระบบการค้นหาพิกัด หรือจีพีเอส อันชาญฉลาด รวมถึงระบบโทรมาตรและเทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น" ประธานมูลนิธิโคคา-โคลากล่าว.
http://www.thaipost.net/sunday/060610/23111

พื้นที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า

 แผนที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่  อ.เวียงป่าเป้า  จ.เชียงราย (ประตูสู่เชียงราย-ด้านจังหวัดเชียงใหม่)

   ที่ตั้ง / การคมนาคม    
                   ตั้งอยู่ทางทิศ...ใต้สุด.....ของตัวอำเภอ/อยู่ห่างจากตัวอำเภอ ประมาณ ..27...กิโลเมตร  
โดยใช้เส้นทาง...เชียงราย – เชียงใหม่.....(เส้นทางหลวงหมายเลข..118.....)
     ทิศเหนือ          ติดต่อกับตำบล..แม่เจดีย์....อำเภอ..เวียงป่าเป้า..จังหวัด..เชียงราย.....
     ทิศใต้              ติดต่อกับตำบล..ป่าเมี่ยง....อำเภอ..ดอยสะเก็ด...จังหวัด..เชียงใหม่...
                          และ ตำบล..แจ้ซ้อน..อำเภอ..เมืองปาน..จังหวัด..ลำปาง....
     ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบล..เวียงใต้..อำเภอ..วังเหนือ.จังหวัด..ลำปาง..
     ทิศตะวันตก      ติดต่อกับตำบล..แม่เจดีย์...อำเภอ.เวียงป่าเป้า..จังหวัด..เชียงราย.....
 ขนาดพื้นที่   โดยรวมประมาณ... 181,250..ไร่   (หรือ....290.....ตารางกิโลเมตร)
-     เป็นพื้นที่การเกษตร                                            ประมาณ ......34,000.....ไร่
-     เป็นพื้นที่ทางธรรมชาติ (เช่น ป่าไม้ / แหล่งน้ำ )            ประมาณ ....137,250.....ไร่
-     เป็นพื้นที่ตั้งบ้านเรือน / ชุมชน                                ประมาณ ......10,000......ไร่

 เขตการปกครอง   มีจำนวน.....14..... หมู่บ้าน/ชุมชน ประกอบด้วย
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านโฮ่ง......................หมู่ที่......1…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านร้อง......................หมู่ที่......2…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านแม่เจดีย์................หมู่ที่......3…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านปางอ่าย................หมู่ที่......4…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านจำบอน.................หมู่ที่......5…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านโป่งน้ำร้อน............หมู่ที่......6…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านขุนลาว..................หมู่ที่......7…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านเมืองน้อย..............หมู่ที่......8…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านบวกขอน...............หมู่ที่......9…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านห้วยม่วง................หมู่ที่....10……
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านห้วยชมพู..............หมู่ที่.....11……
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านห้วยคุณพระ..........หมู่ที่.....12……
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านโป่งผาลาด............หมู่ที่.....13…….
-     ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน.......บ้านโป่งป่าตอง............หมู่ที่.....14…….
ประชากร ปัจจุบันมีประชากรจำนวน... 10,172.. คน เป็นชาย ..5,226...คน  เป็นหญิง ..4,926... คน
       จำนวนครัวเรือน  รวม ... 2,664.... ครัวเรือน         เฉลี่ยจำนวนประชากร ...3.8... คน / ครัวเรือน 
สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่   ก่อตั้งขึ้นตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.  2551  
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 โดยมีนายอินแหลง   ไทยกรณ์  เป็นประธานสภาฯ คนแรก 
ได้รับงบประมาณ อุดหนุนฯจาก พอช. ต่อเนื่องมาโดยตลอด  ปัจจุบัน  ( 2554 ) มีกลุ่ม / องค์กร เข้าร่วมเป็นสมาชิกทั้งสิ้น 16  กลุ่มองค์กร ( 15 กลุ่ม / 1 เครือข่าย ) โดยมี นายสุบิน แสงมณี เป็นประธานสภาองค์กรชุมชนคนปัจจุบัน ( 2553-2554) จะหมดวาระ มกราคม 2555 

ผลงานเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำลาว   ( 1 ในสมาชิกสภาฯ ต.แม่เจดีย์ใหม่ )

เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว

เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
รางวัลที่ ๓ ประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ ๓ 


สภาพปัญหาของชุมชน
เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว เกิดจากการรวมตัวกันของชุมชนในพื้นที่ครอบคลุมต้นน้ำและขุนน้ำที่เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำลาวทั้งหมด คือ บ้านแม่โถ
บ้านขุนลาว บ้านห้วยคุณพระ บ้านปางมะกาด บ้านห้วยน้ำกืน บ้านห้วยทราย  บ้านห้วยม่วง บ้านเมืองน้อย บ้านห้วยโป่งผาลาด  ซึ่งแม่น้ำลาวนี้ถือเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำสายหลักของจังหวัดเชียงรายไหลผ่านทั้ง ๕ อำเภอ ได้แก่ อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย  อ.แม่ลาว อ.เมือง และ อ.เวียงชัย มีความยาวรวม ๑๕๐ กิโลเมตร หล่อเลี้ยงภาคการเกษตรทั้ง ๔๐๐ กว่าชุมชน
tonnam1เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างมากสำหรับชาวบ้านคือ การเข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ของนายทุน ทำให้มีการตัดต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนเปิดทางให้เดินทางเข้าออกสะดวกขึ้น ขนเอารถขุดขนาดใหญ่มาขุดเจาะแร่ จนทำให้สายน้ำแม่โถมีลักษณะขุ่นและมีสีแดง ไม่สามารถอุปโภค บริโภคได้ อีกทั้งแรงงานต่างถิ่นจำนวนมากเริ่มแผ้วถางบุกรุกป่า ตัดต้นไม้สร้างบ้านเรือน และเปิดพื้นที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นเหตุให้ป่าไม้ถูกทำลายอย่างรุนแรง สัตว์ป่าอพยพหนีจากพื้นที่ สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศเสื่อมสภาพ กระทั่งการสัมปทานเหมืองแร่หมดไป แต่ทิ้งความเสื่อมโทรมเป็นมรดกให้ชาวบ้านคิดแก้ไข ว่าทำอย่างไรจึงฟื้นฟูทรัพยากรให้กลับคืนมา
จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง
จากวิกฤติในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ทำให้ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนและปรึกษาหารือกันถึงวิธีการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ พยายามเรียนรู้จากผู้อื่นโดยผู้นำชุมชนได้ไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ โดยเกิดเป็นพัฒนาการของเครือข่ายที่เริ่มจากการนำของ
นายอินแหลง ไทยกรณ์ ซึ่งก่อตั้งเป็น “กลุ่มคนรักษ์ป่าแม่โถ” สร้างแนวคิดกับชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านแม่โถและหมู่บ้านใกล้เคียง และได้เชื่อมต่อการทำงานไปยังส่วนงานภาครัฐและเอกชน เช่น อุทยานแห่งชาติขุนแจ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนลาว หน่วยป้องกันรักษาป่าเชียงราย สภอ.แม่เจดีย์ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทั้ง ๔ ศูนย์ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ใหม่ กำนัล ผู้ใหญ่บ้าน และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เข้ามาร่วมกันในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ เพื่อให้คนทั่วไปได้รับรู้ถึงความตั้งใจจริงของคนต้นน้ำให้มากยิ่งขึ้น
จากนั้นจึงได้ประสานความร่วมมือไปยังชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำลาวทั้งหมด และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะสภาพพื้นที่และปัญหาที่มีร่วมกัน ทำให้มีการจัดเวทีระดับหมู่บ้าน เริ่มจากหมู่บ้านแกนนำหลัก คือ บ้านแม่โถ บ้านขุนลาว และบ้านห้วยคุณพระ จัดตั้งเป็นคณะกรรมการการจัดการป่าต้นน้ำขึ้น มีแผนงาน และกิจกรรมต่างๆ โดยมีมติจัดตั้งเป็นคณะกรรมการกลางในนาม “เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว” เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ ในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำ

เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว - การจัดการของชุมชน



พิมพ์PDF

tonnam 2
กิจกรรมที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำ ของเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่า ต้นน้ำแม่ลาว ซึ่งทำร่วมกันในทุกปี คือ การทำแนวกันไฟ การจัดทำระบบเหมืองฝาย การทำน้ำประปาภูเขา มีการบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำ การเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นการทำพิธีสังเวยผีฟ้า เทวดาอารักษ์ ที่คอยสอดส่องดูแลเพื่อปกป้องรักษาผืนป่าที่เป็นแหล่งกำเนิดของสายน้ำ จนทำให้ป่าที่มีแนวโน้มจะเสื่อมโทรม สมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ที่สำคัญก็คือ ชาวบ้านทุกหมู่บ้านที่เป็นเครือข่าย มีความตระหนักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติรอบๆ ตัว คอยเฝ้าระวังไม่ให้ใครมาทำลาย
ชาวบ้านในพื้นที่เครือข่ายต้นน้ำลาว มีคติที่ว่า “ข้าวตำ น้ำตัก” คือการกินอยู่โดยอาศัยธรรมชาติ ชาวบ้านจึงต้องช่วยกันดูแล เกื้อกูลต่อธรรมชาติ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง เมื่อป่าต้นน้ำดีก็จะมีแหล่งอาหารธรรมชาติขึ้นอยู่เต็มทั่วทั้งผืนป่า เช่น หน่อไม้ หนอนไม้ไผ่ นอกนั้นยังมีเห็ดเกิดขึ้นหลายชนิด ทั้งเห็ดโคน เห็ดผึ้งหรือเห็ดปลวก ฯลฯ ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากป่าครบวงจรชีวิต เป็น “ป่าสวนครัว” ของทุกคน แม้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก็มีสมุนไพรช่วยรักษา โดยไม่ต้องพึ่งพาโลกภายนอก
tonnam 3
tonnam 4
ส่วนเรื่องที่ชาวบ้านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ การใช้พลังงานที่ไม่ไปทำลายระบบนิเวศ โดยการติดตั้งเป็นแผงโซล่าเซลล์รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน และใช้ระบบไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้คุ้มค่า
tonnam 5
นอกจากนี้ เครือข่ายได้จัดทำกระเบียบในการดูแลพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยการใช้ แนวคิดเรื่องกฏ ๓ ด้านมาบังคับใช้จริงอย่างได้ผล คือ
  1. กฏทางวัฒนธรรม คือการใช้ความเชื่อ ประเพณี วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ของคนในชุมชน มาช่วยเรื่องการอนุรักษ์ดูแลป่าต้นน้ำ เช่น การเลี้ยงผีขุนน้ำ การบวชป่า สืบชะตาสายน้ำ ชาวบ้านไม่กล้าล่วงละเมิดกฏทางวัฒนธรรม เพราะกลัวผิดผี หรือเป็นการลบหลู่ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเชื่อถืออยู่ ส่งผลทางจิตใจ
  2. กฏทางสังคม คือการใช้เครือข่ายความสัมพันธ์ของชาวบ้านซึ่งอยู่อาศัยด้วยกัน คอยสอดส่องดูแลกันและกัน หากใครบุกรุกทำลายป่า หรือฝ่าฝืนระเบียบต่างๆ ผู้นำหรือคนในชุมชนจะช่วยกันตักเตือนดูแล และส่งผลได้อย่างรวดเร็ว ผู้ทำผิดกฎทางสังคมจะอยู่ในชุมชนด้วยความอึดอัดคับข้องใจ เพราะความสัมพันธ์และเครือญาติ และส่งผลทางสังคม
  3. กฏหมาย คือการบังคับใช้กฏหมายท้องถิ่น และกฏหมายรัฐ เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายป่า ทั้งจากคนภายในและคนภายนอก ซึ่งถือเป็นเรื่องรุนแรงและส่งผลกระทบอย่างมากกับแหล่งป่าต้นน้ำ การใช้กฏหมายจำเป็นต่อการอนุรักษ์ในบางระดับ และช่วยเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นที่ทำบนความถูกต้องร่วมกัน
tonnam 6

เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว - ขยายผลสู่ความยั่งยืน



พิมพ์PDF

เครือข่ายเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำลาว ได้บ่มเพาะเยาวชน เพื่อสานต่อความยั่งยืนโดยมีกลุ่ม “เยาวชนละอ่อนฮักน้ำลาว” โดยเชื่อมกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม ในการทำโครงการนักสืบสายน้ำ และจัดวิทยุชุมชนรายการชุมชนคนต้นน้ำ ทุกวันเสาร์ เวลา ๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. ผ่านทางคลื่น F.M.104.75
ขยายแนวความคิดการรักษาป่าต้นน้ำออกไปสู่ลูกบ้าน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายชุมชนคนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว โดยมีหมู่บ้านแม่โถ หมู่บ้านห้วยคุณพระและหมู่บ้าน
ขุนลาว เป็นหมู่บ้านที่ริเริ่มแนวคิดในเรื่องนี้ ต่อมาก็มีบ้านเมืองน้อย บ้านห้วยน้ำริน บ้านปางมะกาด บ้านห้วยทราย บ้านปางมะแหละ และหมู่บ้านอื่นๆที่ได้เข้ามาเป็นเครือข่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดลุ่มน้ำ ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายประมาณ ๔,๕๐๐ คน และรับสมาชิกอยู่ตลอด โดยไม่แบ่งเขตพื้นที่การปกครอง เพศ อายุ วรรณะ เข้ามาเป็นข้อจำกัดในการร่วมกันทำงาน เพียงแต่ให้มีใจรักษ์ป่า รักษ์น้ำ และพร้อมที่จะร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ
tonnam 7

ชุดความรู้การจัดการ ดิน น้ำ ป่า เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว



ชุดความรู้การจัดการ ดิน น้ำ ป่า เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว
ชุดความรู้การจัดการ ดิน น้ำ ป่า
เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว
องค์ความรู้กับการจัดการดิน น้ำ ป่า ของเครือข่ายฯ มีทั้งหมด 9 ประการ คือ
1. มองป่าเหมือนลมหายใจ ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ ไม่มีสิ่งมีชีวิต
2. ชุมชนต้องเรียนรู้และให้ความสำคัญกับป่าต้นน้ำให้มากขึ้น
3. ชุมชนจะต้องรู้จักป่า รู้จักการเรียนรู้อยู่กับป่า และรู้จักการใช้ประโยชน์จากป่า (หน้าหมู่)
4. ชุมชนต้องปลูกป่าทดแทนทุกปี เพื่อทดแทนที่ถูกภัยจากธรรมชาติทำลาย
5. ชุมชนจะต้องมีกฎระเบียบการอยู่ร่วมกับป่าและนำมาบังคับใช้จริงในชุมชน
6. ผู้นำชุมชนต้องเข้มแข็งทันต่อสถานการณ์ทุกเวลา
7. รัฐ อบจ. อปท. เอกชน ต้องส่งเสริม และช่วยเหลือหรือร่วมกันพัฒนาและประชาสัมพันธ์
8. ป่าต้นน้ำต้องเป็นของชุมชนทุกชุมชน
9. รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนแต่ละชุมชน
องค์ความรู้ทั้ง 9 ข้อ ของเครือข่ายฯ หากชุมชนได้นำไปปฏิบัติจะทำให้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าต่อทรัพยากรมนุษย์ก็จะอยู่คู่กับเราไปตลอดกาลเหมือนกับเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว
รายนามผู้จัดทำ
ผู้เขียน: 
อินแหลง ไทยกรณ์
Constructor: 
เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว
Supporter: 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.)
ลักษณะ: 
หนังสือ, 28 หน้า
ปีที่พิมพ์: 
2009
www.haii.or.th/.../component/content/.../frontpage.html?..

---------------------------------------------------------------------------------------

เชื่อมโยง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน