สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่

สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่เจดีย์ใหม่
ข้อมูลพื้นฐานตำบล

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

2 ปี" กับเสียงที่เงียบดุจสายลม ของเจ้าท่าฯ (เชียงราย)


2 ปีแห่งการรอคอย และเสียงเงียบจากสายลม ของ เจ้าท่าฯ ภูมิภาคที่ 1 เชียงราย
    22 สิงหาคม 2553 เวลาประมาณ  06.30 น. เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักเหนือลุ่มน้ำลาว บริเวณขุนน้ำ ไม่ว่าจะน้ำลาว/น้ำแม่โถ /น้ำห้วยโป่ง   นำมวลน้ำจำนวนมหาศาลหลั่งไหลจากยอดดอย สมทบจากน้ำจากลำห้วยต่างๆ พัดพาลงสู่เบื้องล่าง ผสมปนเปกับเศษซากต้นไม้ ใบไม้ ทั้งแห้ง-สด โคลนเลน กิ่งไม้ สารพัด ไม่ถึง 1 ชั่วโมง    บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ โป่งน้ำร้อน บริเวณบ่อ ฝั่งทิศตะวันออก ซึ่งนับวัน มีผู้ประกอบการค้าขาย น้อยลงไปทุกที เนื่องจากมีการสร้าง ตลาดการค้าแห่งใหม่ขึ้นถึง 2 แห่งในฝั่งตรงข้าม

วิดีโอ แสดงภาพก่อนเกิดเหตุน้ำหลากเข้าท่วม บริเวณ บ่อน้ำพุร้อน (บ่อดั้งเดิม ฝั่งตะวันออก)

                                        
  
    เป็นเหตุให้ บริเวณบ่ดั้งเดิมฝั่งทิศตะวันออก ซึ่ง อยู่ติดกับลำน้ำแม่ลาว ซึ่งบริเวณนั้นทางน้ำซึ่งคับแคบอยู่แล้ว
 เกิดน้ำเอ่อท่วมขึ้นมา จนเข้าท่วมร้านรวงซึ่งอยู่บริเวณนั้น ไม่รอดแม้แต่ร้านเดียว ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า      
   ร้านค้าซึ่งปกติจะเปิดทำการค้าขายประมาณ10 โมงเช้า บางร้านยังนอนหลับอยู่ บางร้านระวังตัวอยู่แล้ว เพราะเคยผจญเหตุการณ์น้ำหลากมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 หน ในรอบ10 ปี. ความสับสนอลหม่าน แตกตื่น เสียงดังจากน้ำผสมเสียงตะโกนโหวกเหวก พร้อมกับเสียงเก็บข้าว ขนของ สินค้า นำไปกองเต็มเกลื่อนกราด ริมทาง (ถนน สายเชียงใหม่-เชียงราย) ชาวบ้านชาวร้านและหลายหน่วยงานหลังทราบข่าว เข้ามาดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน ทุกภาคส่วน ราวสองชั่วโมงหลังจากน้ำหลากเข้าท่วม นอกจากโคลนเลนจะหลงเหลืออยู่เต็มบริเวณ ยังคงปรากฏคราบน้ำตาของผู้ประกอบการร้านค้ายังไม่แห้งหายไปจากใบหน้าอันวิตกกังวลนั้น แหล่งทำมาหากิน บางคนบางร้าน ยึดตั้งเป็นที่มั่นสุดท้ายในชีวิต อันตรทานหายไปกับกับกระแสน้ำอันเชียวกราก หลงเหลือเพียงเศษโคลนเลน ที่ขนของขนสินค้าออกได้ทัน ก้อพอมีกำลัง ที่จะล้างเศษคราบเลนโคลนเพื่อจะเปิดร้านทำมาค้าขายต่อ ที่ขนสินค้าออกไม่ทันและลอยหายไปกับสายน้ำ จมอยู่ใต้เลนโคลน หมดเรี่ยวแรงจะสู้ต่อไป
ภาพเปรียบเทียบ ก่อน-หลัง น้ำท่วม


   ชีวิตต้องดำเนินต่อไป หลังจากเหตุการณ์น้ำหลากเข้าท่วม หลายหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่พักอาศัยเหล่านั้น ตามกฎ ตามระเบียบ และสิทธิ ที่จะได้รับ จากภาคส่วนทางราชการที่เกี่ยวข้อง
   จากผู้ประกอบการร้านค้าประมาณ 25 ร้านค้า หลงเหลือเพียงไม่ถึง 10 ร้านค้า ที่ยังเปิด ประกอบการอยู่ที่บ่อน้ำร้อนฝั่งทิศตะวันออก (บ่อดั้งเดิม)
                ภาพความเสียหาย จากน้ำหลากเข้าท่วม




     ภาพความเสียหาย จากน้ำหลากเข้าท่วม 

   องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ผู้ที่รับผิดชอบเขตพื้นที่แห่งนี้ ริเริ่มโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้นมาอีกครั้ง หวังซับน้ำตาและบริหารพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลบล้างคำครหาจากชาวบ้าน-ผู้ประกอบการ ว่าปล่อยทิ้งร้างไม่ใส่ใจ สนใจ พัฒนาพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งที่เคยสร้างอนาคต สร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่มาต่อเนื่องยาวนาน
   แต่การเข้ามาบริหารพื้นที่ แห่งนี้ ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา และเป็นอุปสรรคจากหน่วยราชการด้วยกันเองทั้งนั้นที่ไม่ยอมเปิดใจ เปิดโอกาส ไม่มีวิสัยทัศน์ และไม่คำนึงถึงชาวบ้านร้านตลาด ตาดำๆ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวก็ได้แก่ กรมเจ้าท่า ( โดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่1 เชียงราย / อ.เชียงแสน )
  องค์การบริหารส่วนตำบล ได้คิดและนำเสนอโครงการ เพื่อเข้าบริหารพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พื้นที่ และคนในพื้นที่ โครงการดังกล่าว ถูกนำเสนอไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย / จังหวัดเชียงราย เป็นต้น โครงการผ่านฉลุย สามารถอนุมัติงบประมาณได้ทันที ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

แบบ แปลนซึ่ง อบต.แม่เจดีย์ใหม่ ออกแบบ และนำเสนอ


    แต่ที่ สนง.เจ้าท่าภูมิภาคที่1 เชียงราย ไม่มีคำตอบจากเบื้องบน ผู้บริหาร เงียบไม่แสดงดุลพินิจ ไม่มีคำตอบ  เหตุเพราะพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของเจ้าท่าฯ เศษซากเลน โคลน ยังคงทิ้งเกลื่อนกระจัดกระจาย องค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถที่จะอนุมัติ งบประมาณไปทำการดูแลแก้ไขได้ หรือแม้แต่จะล้างคราบโคลน ตักไปทิ้ง ทำความสะอาด เหตุก็เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่ ที่ดูแลรับผิดชอบอยู่การอนุมัติงบประมาณเพื่อเข้าไปบูรณะพื้นที่ซึ่งไม่ใช่เป็นพื้นที่ของตน คงไม่ถูกต้องเลย  ระเบียบ/กฎกติกา ต่างๆไม่เปิดช่องให้แน่นอน ได้แต่รอคอย เสียงตอบจากผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ( สนง.เจ้าท่าภูมิภาคที่1 เชียงราย)

แผนที่แสดงพื้นที่ บ่อน้ำพุร้อน ฝั่งตะวันออก (บ่อดั้งเดิม)

 

ขอบคุณ กูเกิ้ลแมป

 ถึงเหตุการณ์น้ำหลากเข้าท่วมดังกล่าว จะครบ 2 ปี แล้ว ไม่มีแม้แต่เสียงตอบ ไม่มีแม้แต่การเดินทางเข้ามาดูแล ปัดกวาดความทุกข์ยากของผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการร้านค้า ทิ้งให้เผชิญ ชะตากรรม ตามโชคชะตาที่จะอำนวยได้เท่านั้น 
   การที่ เจ้าท่าฯ (โดย สนง.เจ้าท่าภูมิภาคที่1 เชียงราย) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการ ใดๆทั้งสิ้นกับพื้นที่ (ซึ่งถือว่าตนเองเป็นเจ้าของ /ผู้ดูแลตามกฎหมาย)ความลำบากก็ตกกับประชาชนหน้าดำๆ ซึ่งรอความหวังจากส่วนราชการ  ระเบียบ/กฎกติกาใดๆที่เป็นอุปสรรค หรือแม้แต่ดำเนินการได้/ไม่ได้ ก็ไม่เคยที่จะมีคำชี้แจงออกมาจากเจ้าท่า(เชียงราย) ทิ้งให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ ที่ถูกละทิ้งทั้งที่มันเคยเป็นพื้นที่ ทำมาหากิน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้ประกอบอาชีพ ลืมตาอ้าปากมาหลายรุ่น ต่อรุ่นมากแล้ว

รูปแสดง โฉนดที่ดิน ระวางที่ดิน พื้นที่ดังกล่าว จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 56 ตรว.
  ความเข้าใจของคนในชุมชนพื้นที่ ความเข้าใจในสิทธิชุมชน ว่ามีสิทธิที่ทำมาหากินมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นปู่ มักขัดแย้งกับตัวบทกฎหมายที่ออกมาทีหลัง หลังจากที่ประชาชนในพื้นที่เข้าไปทำ-เข้าไปประกอบสัมมาชีพเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ แนบหลัง กฤษฎีกาอุทยานฯ/แผนที่ สปก. ซึ่งทับที่ดิน หรือผลักให้ประชาชนออกจากพื้นที่ไปโดยอัตโนมัติ
   การเพิกเฉยของเจ้าท่าฯ เปรียบเสมือนการวางตนอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง ทั้งๆที่มีอำนาจและสามารถกระทำการใดได้ แต่ไม่มีการขยับ ไม่มีความเห็นออกมา แค่ออกมา ชี้แจงกับประชาชนยังไม่เกิดขึ้นเลย เพราะฉะนั้นยังจะหวังอะไรจากหน่วยงานที่ถือเอา ตนเองเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงอุดมการณ์ ข้าราชการและ ความทุกข์ร้อนของประชาชน
   ข้าราชการมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่เป็นผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุข ของประชาชนไม่เพิกเฉยต่อความเดือนร้อนของประชาชน ผู้เสียภาษี(ให้ได้มีกินมีอยู่) หากทำตัวเหนือประชาชนไม่ใส่ใจดูแล ทุกข์สุข ทำตัวเป็นเจ้านายของประชาชนเสียแล้ว ประชาชนคงหวังพึ่งใครไม่ได้ นอกจากพึ่งตนเอง ตามกำลังตามแต่สติปัญญา
  ขอเพียงแต่อย่าบีบบังคับ ประชาชนจนไม่มีทางต่อสู้ หมดทางเดิน ถึงวันนั้นประชาชน คงต้องออกมาทวงถามสิทธิ ร่วมกับสื่อมวลชนตีแผ่พฤติกรรม พฤติการณ์ บางอย่าง ของข้าราชการบางคน ข้อบังคับกฎหมายรวมถึงหลักฐานอ้างอิงจากส่วนต่างๆ เพื่อทวงถามสิทธิที่ถูกยึดเอาไปบ้าง วันนั้นจะเป็นวันของประชาชน โดยสมบูรณ์ คงอีกไม่นานสมการรอคอย 2 ปี ที่ไม่มีแม้แต่เสียงกระซิบจากสายลมอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น